แม้สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดเริ่มคลี่คลายลงแล้ว แต่ไม่ใช่พื้นที่ในต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีน้ำท่วมขังมากว่าหนึ่งเดือนเต็มแล้วและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านตัดพ้อแล้วเริ่มทนไม่ไหว
สภาพความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้องใช้ชีวิตอยู่กับน้ำที่ท่วมเต็มพื้นที่มานานนับเดือน หลังน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่บ้านชาวบ้านกว่า300หลังคาเรือน และล้นเอ่อไปยังถนนที่ทุกคนใช้เข้าออกพื้นที่ เวลานี้ชาวบ้านและพนักงานส่งพัสดุต้องขับรถลุยน้ำ หากต้องการทำธุรกรรมทางการเงินในธนาคารก็ต้องเดินบนกระสอบทรายที่ทำเป็นทางเข้า-ออก อย่างทุลักทุเล
โคราช ยังน่าเป็นห่วง หลังระดับน้ำมูลเพิ่มสูงขึ้น
บินเข้าไทย เปิดประเทศ ติดโควิด 10 ราย เช็กลิสต์ชาติไหนเดินทางเข้าไทยมากที่สุด จากจีนแค่หลักร้อย
นายณรงค์ศักดิ์ ประสาททอง กำนันตำบลหลักชัย บอกว่า พื้นที่อำเภอลาดบัวหลวงเป็นพื้นที่รับน้ำไว้ ไม่ให้เข้าท่วมกรุงเทพมหานครและพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านก็ยอมรับสภาพดังกล่าวและพร้อมเป็นแหล่งรับน้ำมาโดยตลอด แต่เมื่อร้องขอให้หน่วยงานเข้ามาดูแล กลับไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เช่นที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ลงมาแจกถุงยังชีพ 70 ชุดและบอกว่าจะมีมาแจกเพิ่มอีกประมาณ 200 ชุด ซึ่งไม่เพียงพอ เพราะทั้งตำบลมีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 2,000 หลังคาเรือน โดยเวลานี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไข ด้วยการบริหารจัดการน้ำให้ลดลงเร็วที่สุด เพื่อจะให้ชาวบ้านกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
นอกจากปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงแล้ว การเยี่ยวยาผลกระทบที่มาจากน้ำท่วม ก็เป็นอีกปัญหาที่ชาวบ้านกังวลเนื่องจากไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะเยียวยาชาวบ้านอย่างไร
อย่างชาวบ้านคนนี้ เธอเล่าว่า นาข้าวกว่า20ไร่ ที่เพิ่งปลูกได้เพียง2เดือน รวมถึงบ่อปลานิล ที่เลี้ยงไว้ในบ่อดินพื้นที่ 2ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด มูลค่าความเสียหายกว่า 300,000 บาท เธอบอกว่าพื้นที่หมู่8และหมู่9 ตำบลหลักชัย ที่เธออยู่มีบ้านถูกน้ำท่วมประมาณ 300 หลังคาเรือน ซึ่งบางส่วนก็เป็นบ้านพักชั้นเดียวทำให้เมื่อน้ำท่วมต้องอพยพไปทำเต็นท์นอนในพื้นที่สูงเอง
ขณะที่ชาวบ้านอีกคนบอกว่า สิ่งที่เป็นปัญหากับเธอมากที่สุดก็คือ ห้องน้ำที่ใช้ในการขับถ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการร้องขอให้หน่วยงานเข้ามาช่วยนำห้องน้ำเคลื่อนที่ลอยน้ำได้เข้ามาให้ชาวบ้าน แต่ก็ยังไม่ได้รับจึงต้องทำที่ขับถ่ายเองและปล่อยสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับข้อเรียกร้องเรื่องระบายน้ำที่ท่วมในพื้นที่ยืดเยื้อมากว่าหนึ่งเดือน เมื่อวานนี้ชาวบ้านที่นี่ได้เคลื่อนไหว รวมตัวกันประท้วง ปิดถนนสาย 340 สุพรรณบุรี-กรุงเทพ เพื่อขอให้มีการเปิดประตูระบายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
โดยภายหลังนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปกับชาวบ้าน ก็สั่งให้เปิดประตูระบายน้ำในโครงการส่งน้ำฯพระยาบรรลือ และพื้นที่ข้างเคียงในระดับ 2 เมตรทุกประตู ในเบื้องต้น
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline