อยุธยาเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนา ทั้งไทย จีน แขก ฝรั่ง และญี่ปุ่นด้วย มีหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่ามีชาวญี่ปุ่นเคยตั้งรกรากที่อยุธยา กระทั่งเกิดเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาอันเกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่น เพื่อศึกษาอดีตเมืองหลวงสยามที่รุ่งเรืองมายาวนานถึง 417 ปี ซึ่งพ่วงไปด้วยความเป็นมาของภูมิภาคอุษาคเนย์อย่างแยกกันไม่ออก เท่ากับได้รู้จักอดีตของไทยและของอาเซียนไปพร้อม ๆ กัน ผ่านการทำความเข้าใจสังคมในอดีตของกรุงศรีอยุธยารัฐบาลญี่ปุ่นมอบทุนก่อตั้งแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทในเวลานั้น) เพื่อเทิดพระเกียรติdพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษาใน พ.ศ. 2530 และในโอกาสที่ประเทศไทยและญี่ปุ่นมีไมตรีอันแน่นแฟ้นต่อกันมาครบ 600 ปี พื้นที่ภายในศูนย์แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกที่ตั้งอยู่ในเกาะเมือง ติดกับสถาบันราชภัฏอยุธยาและส่วนที่ 2 อยู่ในหมู่บ้านญี่ปุ่นเดิมสมัยอยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใต้วัดพนัญเชิงภายในศูนย์เปิดให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชมนิทรรศการถาวรที่จัดแสดงแผนที่และแบบจำลอง เพื่อทำความรู้จักกรุงศรีอยุธยาที่เป็นราชธานี เมืองท่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการปกครองแหล่งพักพิงของชาวบ้านและศูนย์กลางการค้ากับต่างประเทศ มีแบบจำลองที่น่าสนใจ เช่น ภาพเขียนสีน้ำมันแผนผังเมืองอยุธยาในสายตาของพ่อค้าชาวดัตช์ช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 22 แบบจำลองของพระราชวังโบราณ วัดไชยวัฒนาราม และเพนียดคล้องช้าง เรือจำลอง เช่น เรือสำเภาจีน เรือคาร์แรทของสเปนและโปรตุเกส รวมทั้งเรือแกลลิออนของฮอลันดา แบบจำลองภายในวิหารพระศรีสรรเพชญ์ และแบบจำลองของหมู่บ้านและในบ้านของราษฎร นับเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของอยุธยาและของสยามได้ครบถ้วนและเห็นภาพชัดเจนที่สุดแห่งหนึ่ง เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น. ค่าเข้าชมนักเรียนและนักศึกษาในเครื่องแบบไม่เสียค่าเข้าชม ประชาชนทั่วไป 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3524 5123 4 เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (รองรับผู้ใช้รถเข็น) : Tourism For All http://tourismproduct.tourismthailand.org/tourismforall แผนที่เดินทางไปศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ http://www.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/480/ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์.pdf